น้องๆที่กำลังจะขึ้นม.ปลายอาจจะสับสนว่าตัวเองนั้นเหมาะกับการเรียนสายไหนดี สายวิทย์ก็น่าสน สายศิลป์ก็น่าเรียน ก่อนที่น้องๆจะเลือกสาย พี่อยากให้น้องๆอ่านข้อมูลกันก่อนนะครับ เพื่อที่น้องๆจะได้นำไปวิเคราะห์ว่าตัวเองชอบเรียนอะไร อยากเรียนคณะไหน อยากเป็นอะไร เพราะข้อมูลเหล่านี้จะมีผลต่อการตัดสินใจของน้องๆว่าจะเลือกเรียนแผนไหนนั่นเอง
เรียนสายไหนดี
พี่จะแบ่งแผนการเรียนออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ สายวิทย์-คณิต สายศิลป์-คำนวณ และสายศิลป์-ภาษา ตามที่น้องๆหลายคนรู้จักกันดี ซึ่งหลังๆน้องๆอาจจะได้ยินสายศิลป์-สังคม ศิลป์-ธุรกิจ ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนว่ามีหรือไม่
สายวิทย์–คณิต : สายวิทย์–คณิตเรียนอะไรบ้าง? สายนี้จะค่อนข้างเรียนหนักกว่าสายศิลป์ทีเดียวนะครับ เพราะมีทั้งวิชาวิทยาศาสต์ที่รวมวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา แน่นอนว่าจะต้องลงรายละเอียดเนื้อหาที่ลึกกว่าตอนม.ต้น เพราะต้องมีการทำการทดลอง ทำโครงงาน การวิเคราะห์ผลต่างๆ และอีกวิชาซึ่งก็คือคณิตศาสตร์ที่มีเนื้อหาเข้มข้นมากขึ้น ส่วนวิชาอื่นๆได้แก่สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ นั้นเรียนปกติแต่ไม่สัดส่วนไม่เยอะเท่าวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ศิลป์–คำนวณ : สายศิลป์–คำนวณเรียนอะไรบ้าง? ขึ้นชื่อว่าศิลป์-คำนวณ ก็ต้องเน้นวิชาภาษาอังกฤษกับคณิตศาสตร์เป็นหลัก ใครที่รู้สึกว่าตัวเองชอบสองวิชานี้ ถือว่ามาถูกสายแล้วครับ เพราะสายนี้ภาษาอังกฤษจะเรียนตั้งแต่ระดับง่ายไปยาก เรียนว่าฟัง พูด อ่าน เขียน มาครบเลยทีเดียว ส่วนความยากของวิชาคณิตศาสตร์ก็ยากพอๆกับสายวิทย์-คณิตเลยครับ แต่ถามว่าต้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มั้ย สายศิลป์-คำนวณก็ยังต้องเจอ แต่ระดับความยากจะไม่เท่าสายวิทย์-คณิต
ศิลป์–ภาษา : สายศิลป์–ภาษาเรียนอะไรบ้าง? สายนี้จะเน้นหนักไปทางภาษาอังกฤษและอีกภาษาที่น้องเลือกเรียน หรือเรียกง่ายๆว่าภาษาที่ 3 ครับ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนวิชาภาษาไทย สังคม ก็จะเน้นรองลงมา และน้องๆยังต้องเรียนวิทย์พื้นฐานแต่จะเรียนแบบรวมๆไม่เจาะแยกรายวิชา
เรียนสายไหนดี”เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง – เมื่อเราเลือกแล้วว่าเรียนสายไหนดี เรามาดูกันว่าหากน้องๆเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, ศิลป์-ภาษา น้องๆจะเลือกเข้าศึกษาต่อคณะอะไรได้บ้าง เพื่อที่น้องๆจะได้ศึกษาข้อมูลล่วงหน้า ว่าแต่ละคณะเรียนอะไรบ้าง และวิชานั้นๆเหมาะกับเราหรือไม่
“เรียนสายไหนดี”
- คณะทางสายสุขศาสตร์ : คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์
- คณะทางสายวิทยาสาสตร์ : คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะประมง คณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรม
- คณะทางสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะนิเทศศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นต้น
สายวิทย์-คณิต เลือกเข้าคณะอะไรได้บ้าง ?
ไม่ว่าจะเป็นสายศิลป์-คำนวณ หรือศิลป์-ภาษา น้องๆก็สามารถเลือกเข้าคณะเหล่านี้ได้นะครับ
คณะอักษรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะสถาปัตกรรมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวารสารศาสตร์
“เรียนสายไหนดี”
จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญมาก การเลือกว่าจะเรียนสายไหนดีนั้นเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในชีวิตของน้องๆ เพราะเมื่อเลือกเรียนแล้วมันจะเป็นตัวกำหนดทิศทางและอนาคตของน้องๆสู่อาชีพในสายนั้นๆ ดังนั้นพี่อยากให้น้องๆคิดทบทวนกันให้ดีๆนะครับว่า เราชอบเรียนอะไร และอยากเรียนต่อคณะไหน มหาวิทยาลัยไหน บางคนคิดไปถึงอาชีพที่อยากเป็นในอนาคต อันนี้ถือเป็นเรื่องดีครับ ยิ่งถ้าน้องๆรู้ความชอบและความถนัดของตัวเองเร็ว ก็สามารถเลือกเรียนได้ตรงสายและน้องๆจะไม่เสียเวลาด้วยครับ
ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่าเราอยากเลือกเรียนสายไหนดี น้องๆสามารถทำแบบทดสอบค้นหาตัวเอง เพื่อดูว่าเราถนัดอะไร ชอบและสนใจในวิชาไหน หรือเราลองสังเกตตัวเองว่าเวลาเราเรียนที่โรงเรียน หากเราไม่ชอบการทดลอง ไม่ชอบการคำนวณ สายศิลป์ก็อาจจะเหมาะกับเราครับ หรือเวลาเรียน เราชอบวิชาไหนมากที่สุด ทำคะแนนวิชาไหนได้ดีอันดับต้นๆ น้องๆสามารถคิดไปถึงอนาคตได้ว่าอยากเป็นอะไร ทำอาชีพไหน ก็กลับมาดูว่าสายอาชีพนั้นต้องเรียนด้านไหน เช่นถ้าอยากเป็นหมอหรือพยาบาลก็เลือกวิทย์-คณิตเลยคร้าบ ที่สำคัญเราไม่ควรเลือกสายเรียนตามพื่อน เพราะมันเป็นสิ่งที่เพื่อนชอบเรียน แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราชอบเรียนก็ได้ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกสายที่เรียนควรขึ้นอยู่กับตัวเรา น้องๆบางคนถ้าคิดไม่ออกจริงๆ พี่ก็แนะนำว่าลองปรึกษาคนในครอบครัว ปรึกษาคุณครู ปรึกษารุ่นพี่ที่ผ่านการเรียน ม.ปลายมาแล้ว เผื่อการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นครับ